เกริ่นนำ
ในการที่ทีมงานทีมหนึ่งรับทำแอนิเมชั่นนั้น จะมีกระบวนการในการผลิตและสร้างสรรค์อย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับกระบวนการเหล่านั้นกันดีกว่า ว่ากว่าจะทำขึ้นมาเป็นแอนิเมชั่นสักหนึ่งคลิปหนึ่งเรื่องได้นั้นมีกระบวนการสร้างสรรค์อย่างไรกันบ้าง
โดยหลักๆแล้วเมื่อรับทำแอนิเมชั่นมากระบวนการสร้างจะแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ที่เรียกกันง่ายๆว่า ” 3P ” คือ
1.Preproduction
เป็นกระบวนการออกแบบ เตรียมงานสร้างและพากย์เสียงแอนิเมชั่นทั้งหมด
2.Production
เป็นกระบวนการในการสร้างสรรค์และผลิตแอนิเมชั่น
3.Postproduction
เป็นกระบวนการของการเก็บรายละเอียดงาน ตัดต่อ ทำดนตรีประกอบหรือเสียงพากย์ต่างๆเพิ่มเติมให้กับแอนิเมชั่น
Preproduction (ขั้นตอนเตรียมการ)
- เขียนบท
เป็นขั้นตอนเริ่มแรกของงานที่มีความสำคัญอย่างมากขั้นตอนหนึ่งเพราะว่า แอนิเมชั่นเรื่องนั้นๆจะสนุกหรือไม่ ดูแล้วเข้าใจรึเปล่า ผู้ชมจะมีอารมณ์ร่วมกับงานหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการเขียนบทนี้ ดังนั้นขั้นตอนการเขียนบทจึงเป็นขั้นตอนที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง
- ออกแบบภาพ
ขั้นตอนนี้จะเป็นการออกแบบภาพต่างๆทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแอนิเมชั่น ทั้งการออกแบบตัวละคร ฉาก โดยกำหนดรายละเอียดของส่วนต่างๆ ให้ชัดเจนเช่น สี ลักษณะความสูง มุมต่างๆ ชุดหรือรายละเอียดปลีกย่อยของฉากและตัวละคร เพื่อให้นักออกแบบ นักวาดภาพหรือคนทำแอนิเมชั่นแต่ละคนเข้าใจตรงกันและผลิตภาพการ์ตูนออกมาเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยน
- เขียนสตอรี่บอร์ด
คือขั้นตอนในการนำบททั้งหมดที่เสร็จแล้ว มาทำเป็นภาพเพื่อกำหนดมุมมอง แสดงวิธีการเล่าเรื่องราว กำหนดรายละเอียดต่างๆอย่างคร่าวๆ รวมถึงแสดงให้เห็นความต่อเนื่องของภาพ
- ทำแอนิเมติก และพากย์เสียงตัวละคร
เป็นการนำภาพจาก สตอรี่บอร์ดมาตัดต่อเรียงต่อกันคร่าวๆ พร้อมกับการพากย์เสียงและใส่เสียงพากย์เหล่านั้นลงไปด้วย เรียกขั้นตอนนี้ว่าขั้นตอนการทำแอนิเมติก ทำเพื่อกำหนดระยะเวลาของแต่ละช็อตที่จะเกิดขึ้นรวมถึงกำหนดการเคลื่อนไหวและอารมณ์ของตัวละครคร่าวๆ
Production (ขั้นตอนการทำงานจริง)
- วาง layout
คือการวาดภาพลงสีและกำหนดมุมภาพ รวมถึงตำแหน่งของตัวละครอย่างละเอียดและวางลายละเอียดในแต่ละช็อตว่าตัวละครจะเคลื่อนไหวอย่างไรมีการแสดงอารมณ์อย่างไร ให้ชัดเจน
- สร้างฉาก
คือการวาดภาพและลงสีฉากทั้งหมด ให้ตรงตามที่วางรายละเอียดเอาไว้
- ทำแอนิเมชั่นภาพเคลื่อนไหว
เป็นขั้นตอนในการทำให้ตัวการ์ตูนและสิ่งต่างๆที่สามารถเคลื่อนไหวและแสดงอารมณ์ได้ในฉากนั้นให้เคลื่อนไหวได้ โดยเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องใส่ใจรายละเอียดในการทำงานเช่นกัน เนื่องจากหากทำไม่ดีอย่างเช่นทำการเคลื่อนไหวบนใบหน้าเพื่อแสดงอารมณ์ได้ไม่ดี ภาพแอนิเมชั่นที่ออกมาก็จะไม่ค่อยมีอารมณ์ร่วมเปรียบกับนักแสดงจริงก็เหมือนกับนักแสดงที่แสดงได้แข็งๆ
Postproduction (ขั้นตอนตกแต่งปิดงาน)
- การประกอบรวมภาพทั้งหมด (compositing)
ในขั้นตอนนี้เป็นการนำภาพตัวละครที่ถูกทำแอนิเมชั่นเคลื่อนไหวแล้วมารวมเข้ากับฉาก และตกแต่งแสง สีเพิ่มเติมเข้าไปให้มีความสวยงามและเสริมให้ได้อารมณ์มากยิ่งขึ้น
- ตัดต่อ
เป็นกระบวนการที่นำช็อตต่างๆที่ประกอบรวมกันทั้งหมดและตกแต่งเรียบร้อยแล้วมาตัดต่อรวมกัน
- ดนตรีและเสียงประกอบต่างๆ
เป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการสร้าง โดยเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญเนื่องจากดนตรีและเสียงประกอบที่ดีสามารถช่วยส่งเสริมให้งานแอนิเมชั่นของเรามีอารมณ์ที่แสดงออกดียิ่งขึ้น ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงอารมณ์ที่ต้องการสื่อสารได้ดีกว่าเดิม ไม่ว่าจะสนุกสนาน เศร้า โกรธหรือน่ากลัว
<< ติดตามหนังดี ซีรีส์ดังก่อนใครได้ที่ www.uhdmax.net | www.inwiptv.com>>