slider2
slider2
previous arrow
next arrow
วิกฤตหมอกพิษมรณะ! อดีตลอนดอนถึงอนาคตกรุงเทพฯ

วิกฤตหมอกพิษมรณะ! อดีตลอนดอนถึงอนาคตกรุงเทพฯ

ในปี 1952 หมอกมรณะ หรือ The Great Smog of London กลายเป็นหนึ่งในเหตุการณ์มลพิษที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนกว่า 12,000 คน และสร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เหตุการณ์ที่ดูเหมือนจะเป็นเพียง หมอกทั่วไป ได้เปลี่ยนลอนดอนให้กลายเป็นเมืองมรณะด้วยสภาพอากาศที่เต็มไปด้วยสารพิษ

ในเดือนธันวาคม 1952 ประเทศอังกฤษเผชิญกับฤดูหนาวที่หนาวเย็นผิดปกติ ทำให้ประชาชนและโรงงานถ่านหินเพิ่มการเผาไหม้เพื่อสร้างความอบอุ่น ขณะเดียวกันสภาพอากาศที่ไร้ลมและ แอนติไซโคลน (Anticyclone) ได้กักเก็บมลพิษในอากาศให้อยู่ในระดับต่ำจนกลายเป็นหมอกหนาทึบทั่วลอนดอน

วิกฤตหมอกพิษมรณะ!

ด้วยมลพิษจากการเผาถ่านหิน ควันจากรถยนต์ดีเซล และควันบุหรี่ ทำให้หมอกนี้กลายเป็นพิษ มีส่วนผสมของ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ กรดไฮโดรคลอริก ที่ส่งผลร้ายต่อระบบทางเดินหายใจ ประชาชนเริ่มมีอาการหายใจลำบาก และในวันที่ 8 ธันวาคม สถานการณ์ยิ่งแย่ลง โดยมีผู้เสียชีวิตจาก โรคหนองในปอด กว่า 4,000 คน ภายในไม่กี่วัน และอีกกว่า 100,000 คนป่วยหนัก เหตุการณ์ลากยาวจนถึงวันที่ 10 ธันวาคม ก่อนที่หมอกจะเริ่มจางลง

ทั้งนี้ ปัจจัยหลักเป็นเพราะว่าในยุคนั้นลอนดอนมีโรงงานถ่านหินจำนวนมากในพื้นที่ฟูแลม กรีนิช และแบงค์ไซด์ ซึ่งได้ปล่อยมลพิษทางอากาศมากกว่า 1,000 ตันต่อวัน ความหนาแน่นของมลพิษที่ก่อตัวนี้ ทำให้หมอกในครั้งนั้นถูกเรียกว่า Pea-Soupers เพราะสีเหลืองอมดำของมันคล้ายซุปถั่ว

ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้การใช้ชีวิตในช่วงหมอกควันเป็นไปอย่างยากลำบากแล้ว กิจกรรมกลางแจ้ง เช่น ฟุตบอล หรือคอนเสิร์ต ต้องถูกยกเลิก ประชาชนบางส่วนไม่สามารถมองเห็นสิ่งรอบตัวในระยะไม่กี่เมตรได้ แม้แต่เท้าของตนเองก็แทบจะมองไม่เห็น

หลังเหตุการณ์ หมอกมรณะ รัฐบาลอังกฤษได้ตระหนักถึงความรุนแรงของมลพิษ จนนำมาสู่การออกกฎหมาย Clean Air Act 1956 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมมลพิษอย่างจริงจัง

ในปัจจุบัน กรุงเทพฯ และปริมณฑลกำลังเผชิญกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพอากาศไร้ลม ฝุ่นพิษเหล่านี้อาจสะสมในระดับอันตราย หากยังไม่มีมาตรการจัดการที่จริงจัง บางที The Great Smog of Bangkok อาจกลายเป็นเรื่องจริงที่ลูกหลานเราต้องศึกษา

อย่างไรก็ตาม ปัญหาฝุ่นละอองในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม การเผาถ่านหินในโรงงาน การจราจรที่แออัด และการเผาในที่โล่ง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของต้นเหตุ การแก้ไขจำเป็นต้องร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อสร้างนโยบายที่ยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในสังคม

ทั้งนี้ หากเรายังนิ่งเฉยกับปัญหานี้ สักวันกรุงเทพฯ อาจกลายเป็นบทเรียนใหม่ที่โลกต้องศึกษา เช่นเดียวกับที่ลอนดอนเคยเป็นมาเมื่อปี 1952

<< ติดตามหนังดี ซีรีส์ดังก่อนใครได้ที่  www.uhdmax.net | www.inwiptv.org >>