slider2
slider2
day 5Uhd
previous arrow
next arrow
เยอรมนี กดดัน Apple & Google ถอด DeepSeek หวั่นข้อมูลผู้ใช้รั่วถึงจีน

เยอรมนี กดดัน Apple & Google ถอด DeepSeek หวั่นข้อมูลผู้ใช้รั่วถึงจีน

ปัญหาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กำลังสั่นสะเทือนเวทีเทคโนโลยีระหว่างประเทศอีกครั้ง เมื่อหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลของเยอรมนีร้องขอต่อ Apple และ Google ให้ถอนแอปพลิเคชัน DeepSeek ออกจาก App Store และ Play Store ในประเทศ โดยให้เหตุผลว่า แอปฯ ดังกล่าวอาจละเมิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) เนื่องจากตรวจพบว่ามีการส่งต่อข้อมูลผู้ใช้กลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ในประเทศจีนโดยไม่ได้รับความยินยอม

DeepSeek

• ต้นตอปัญหา : ข้อมูลผู้ใช้ไหลข้ามพรมแดน

DeepSeek ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ให้บริการด้าน AI และการประมวลผลคำ ถูกตั้งข้อสังเกตจากคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลแห่งกรุงเบอร์ลิน ว่ามีการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้จำนวนมากไว้ในประเทศจีน โดยไม่มีหลักฐานรับรองว่าข้อมูลเหล่านั้นจะได้รับการปกป้องในระดับที่เทียบเท่ากับมาตรฐานของยุโรป

ไมเก คัมป์ (Meike Kamp) ประธานคณะกรรมการฯ เปิดเผยว่า “DeepSeek ไม่สามารถแสดงหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ชาวเยอรมันจะปลอดภัยจากการเข้าถึงโดยรัฐบาลจีน” โดยเธอยังเสริมว่าภาครัฐของจีนมีอำนาจตามกฎหมายที่สามารถเข้าถึงข้อมูลของบริษัทในประเทศได้อย่างกว้างขวาง

• เตือนแล้วไม่ทำตาม คำร้องจึงเกิดขึ้น

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ ได้มีการติดต่อไปยัง DeepSeek โดยตรง เพื่อขอให้ดำเนินการตามแนวทางคุ้มครองข้อมูลของ EU หรือถอนแอปฯ ออกจากตลาดเอง แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ จากทางบริษัท จึงทำให้หน่วยงานเยอรมันต้องยกระดับการจัดการด้วยการยื่นคำร้องต่อ Apple และ Google อย่างเป็นทางการ

• ยักษ์เทคฯ ต้องชี้ขาด

คัมป์ ระบุว่า แม้จะยังไม่มีเส้นตายที่ชัดเจนในการตัดสินใจ แต่ทั้ง Apple และ Google ควรพิจารณาคำร้องอย่างเร่งด่วน พร้อมย้ำว่าความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้งานในยุโรปควรได้รับความสำคัญสูงสุด

รายงานจาก Reuters ยังชี้ว่า นโยบายความเป็นส่วนตัวของ DeepSeek ระบุชัดเจนว่ามีการจัดเก็บข้อมูลคำขอใช้งานและไฟล์ต่าง ๆ บนเซิร์ฟเวอร์ในจีน ซึ่งเป็นจุดที่สร้างความกังวลเพิ่มขึ้น เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการถูกนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

• ข้อมูลคืออำนาจและความไว้ใจคือเดิมพัน

ประเด็นนี้เเสดงให้เห็นถึงแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นต่อผู้ให้บริการแพลตฟอร์มระดับโลกว่าจะเลือกยืนอยู่ข้างความโปร่งใสและสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้หรือจะยอมเปิดช่องให้แอปฯ ที่เสี่ยงละเมิดกฎหมายยังคงอยู่ในระบบต่อไป

ทั้งนี้ เรื่องนี้ยังไม่จบและคำตัดสินของ Apple และ Google อาจกลายเป็นตัวอย่างสำคัญในอนาคตของนโยบายด้านความปลอดภัยดิจิทัลทั่วทั้งยุโรป

<< ติดตามหนังดี ซีรีส์ดังก่อนใครได้ที่  www.uhdmax.net | www.inwiptv.org >>