slider2
slider2
previous arrow
next arrow
ทำความรู้จัก ‘Rashomon Effect’ การเล่าเรื่องความจริงผ่านหลายมุมมอง

ทำความรู้จัก ‘Rashomon Effect’ การเล่าเรื่องความจริงผ่านหลายมุมมอง

ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ.1950 เป็นวันที่ฉายหนังขาวดำสัญชาติญี่ปุ่นเรื่อง RASHOMON ของผู้กำกับ ‘อากิระ คุโระซาวะ (Akira Kurosawa)’ ที่ดัดแปลงจากเรื่องสั้น ‘In a Grove’ จากปลายปากกาของ ‘เรียวโนะสุเกะ อากุตางาวะ (Ryunosuke Akutagawa)’ ได้สร้างอิทธิพลให้แก่วงการภาพยนตร์ทั้งโลกตะวันตกและตะวันออกอย่างเหลือคณานับ เสมือนเป็นมรดกของผู้สร้างหนังรุ่นต่อๆมา

ปรากฏการณ์ราโชมอน (Rashomon Effect) หรือ ปรากฏการณ์คุโระซาวะ (Kurosawa Effect) คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อผู้คนกล่าวถึงสิ่งเดียวกันที่ได้พบเจอหรือเผชิญนั้นแตกต่างกัน คำบอกเล่าที่แสดงให้เห็นมุมมองที่แตกต่างกันในการตีความสิ่งเดียวกัน

แล้วการเล่าเรื่องแบบนี้ แบบที่เป็นเหตุการณ์เดียวกัน ผ่านจากมุมมองของแต่ละตัวละคร มันพึ่งมีมาเอาตอนเรื่อง RASHOMON ของอากิระ คุโระซาวะนี่แหละ ความสำเร็จของหนังเรื่องนี้จึงไม่ได้หยุดอยู่ที่รางวัลจากหลากหลายเวที แต่รวมไปถึงการสร้าง ‘Rashomon Effect’ การเล่าเรื่องเดียวกันจากหลายมุมมอง ที่มาจากชื่อภาพยนต์ของเขา จนกลายเป็นการเล่าเรื่องแบบนี้ไม่ว่าจะภาพยนต์หรือชีวิตจริง ก็จะใช้ชื่อราโชมอนนี้เช่นกัน คำว่า ‘ราโชมอน’ นั้น เป็นชื่อประตูที่ตัวละครในเรื่องได้พูดคุยกันถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นเอง

ความยิ่งใหญ่ของภาพยนต์เรื่องนี้ น่าจะเป็นการสร้างความแปลกใหม่ให้แก่วงการโลกภาพยนต์ในช่วงเวลานั้น จนเทคนิคนี้ถูกนำมาใช้ในภาพยนต์หลังจากนั้นอยู่เรื่อยมา ตัวภาพยนต์ราโชมอนต้นฉบับนั้น ค่อนข้างซับซ้อนกว่าที่คิด แต่ถ้าใครอยากเสพผลงานภาพที่โดดเด่นไม่แพ้การเล่าเรื่อง ก็คงแนะนำให้เป็นหนังที่แนะนำดูอีกเรื่อง

ส่วนเรามีภาพยนต์ ที่เล่าด้วยเทคนิคนี้แบบฉบับดูง่ายไม่ซับซ้อน

มาแนะนำให้ 3 เรื่อง ให้เลือกดูตามอัธยาศัย

 

‘Gone Girl (2014)’

ภาพยนต์จากผู้กำกับ ‘เดวิด ฟินเชอร์ (David Fincher)’ ผู้กำกับหนังตำนานอย่าง ‘Fight club’ สร้างมาจากหนังสือนิยาย มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับนิคและเอมี่ คู่สามีภรรยาที่ดูอบอุ่นคู่หนึ่ง ดูเหมือนชีวิตของทั้งคู่ไม่มีปัญหาอะไรเลย แต่แล้ววันหนึ่งเรื่องมันดันมาเกิดเมื่ออยู่ๆ เอมี่ ภรรยาของนิคหายตัวไปอย่างลึกลับ เมื่อตำรวจมือสืบสวนเข้ามาทำคดี สืบไปเรื่อยๆ ก็พบความผิดปกติ โดยเฉพาะนิคเป็นผู้ต้องสงสัยที่ตำรวจจับตามองที่สุด แต่ทว่าจริงๆแล้ว นิคก็ไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย แล้วเอมี่หายตัวไปได้อย่างไร ?

 

‘The Usual Suspect (1995)’

ผลงานการกำกับของ ‘ไบรอัน ซิงเกอร์ (Bryan Singer)’ เรื่องนี้ไม่ได้เล่าผ่านตัวละครนั้นด้วยตัวเอง แต่เป็นการเล่าโดยคนๆเดียว เล่าแทนคนอื่นในหลายๆมุมมอง ซึ่งก็ปั่นป่วนชวนปวดหัวไม่แพ้กัน เหตุการณ์ปล้นรถบรรทุกที่เชื่อมโยงไปถึงการฆาตรกรรมบนเรือ ซึ่งการเล่าเรื่องแบบนี้นี่แหละ ที่จะทำให้เราสงสัยในทุกตัวละคร จนจับไม่ได้ไล่ไม่ทันว่าใครกันแน่คือคนร้ายตัวจริง

 

‘The Handmaiden (2016)’

หนัง Mystery-DramaRomance จากสุดยอดผู้กำกับ ‘ปารค์ ชานวุค (Park Chan-wook)’ จากเรื่อง ‘Old Boy’ The Handmaiden ดัดแปลงมาจากหนังสือนวนิยายชื่อ Fingersmith (เล่ห์รักนักล้วง) โดยนักเขียนชาวเวลส์ Sarah Waters ที่เปลี่ยนจากฉากหลังยุควิคตอเรียน มาเป็นช่วงปีที่เกาหลีตกเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่น เล่าเรื่องราวของ ซุกฮี สาวน้อยนักล้วงกระเป๋าที่ได้รับคำสั่งจากหัวหน้าแก๊งมิจฉาชีพ ให้ปลอมตัวเข้ามาเป็นคนรับใช้ของคุณหนูฮิเดโกะผู้ใสซื่อราวกับผ้าพับไว้ เพื่อเกลี้ยกล่อมเป่าหูให้คุณหนูหลงรักและยอมแต่งงานกับหัวหน้าแก๊งที่หวังจะฮุบสมบัติทั้งหมดของตระกูล

 

การเล่าเรื่องแบบนี้ ช่วยให้เราเห็นลักษณะนิสัย ทัศนคติของแต่ละตัวละครได้เป็นอย่างดี อาจช่วยให้เราเข้าใจในโลกความเป็นจริงด้วยว่า ทำไมการพูดเรื่องเดียวกัน ต่างคนถึงต่างความคิดกันไปได้ไกลขนาดนั้น

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

Hollywoodreporter

Tasteofcinema

Imdb

เรียบเรียงโดย : Admin B.