slider2
slider2
previous arrow
next arrow
พารู้จักหนังต้นเหตุของ #แบนสุพรรณหงส์ “เวลา (Anatomy of Time)”

พารู้จักหนังต้นเหตุของ #แบนสุพรรณหงส์ “เวลา (Anatomy of Time)”

เป็นกระแสร้อนๆ ในวงการภาพยนตร์บ้านเราอยู่ตอนนี้ หลังจากที่คนในวงการหลายคนออกมาแสดงจุดยืนไม่ขอมีส่วนร่วมกับการประกาศผลรางวัลเวทีภาพยนตร์แห่งชาติ หรือ “สุพรรณหงส์”

โดยต้นเหตุก็มาจากการที่หลายคนไม่พอใจกรณีที่ภาพยนตร์เรื่อง “เวลา” (Anatomy of Time) นั้นถูกตัดสิทธิ์ให้เข้าร่วมเพราะไม่เข้ากฏเกณฑ์ที่ทางสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติผู้จัดงานออกมานั่นเอง

แม้จะเพิ่งได้รับรางวัลจากเวที “คมชัดลึก อะวอร์ด” ไปหมาดๆ และมีดีกรีเป็นหนังไทยที่ไปสร้างชื่อในการฉายต่างประเทศ แต่เชื่อว่าหลายคนคงจะยังไม่เคยมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้แต่อย่างใด

สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “เวลา” หรือ Anatomy of Time เป็นผลงานของผู้กำกับ “จักรวาล นิลธำรงค์” เนื้อบอกเล่าเรื่องราวของหญิง “แหม่ม” หญิงชราที่ต้องดูแลสามีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงซึ่งแม้จะรู้ว่าอาการของสามีจะไม่ดีขึ้นแต่เธอก็ทำหน้าที่ของเธออย่างดีที่สุดในฐานะภรรยาที่ดี

ขณะที่ตัวหนังเองมีการการตัดสลับชีวิตในแต่ละวันของเธอกับเรื่องราวในอดีตในฐานะลูกสาวเจ้าของร้านนาฬิกาที่นายทหารหนุ่มเข้ามาจีบ รวมถึงบทบาทของตัวฝ่ายชายเองที่เข้าไปมีส่วนกับเหตุการณ์ทางการเมืองระหว่างกลุ่มทหารยังเติร์กกับรัฐบาลเผด็จการ

โดยนักแสดงหลักๆ ของหนังประกอบไปด้วย เทวีรัตน์ ลีลานุช (รับบท “แหม่ม” วัยชรา), ประภามณฑล เอี่ยมจันทร์ (รับบท “แหม่ม” วัยสาว), วัลลภ รุ่งจำกัด (รับบทนายทหารวัยหนุ่ม), โสระบดี ช้างศิริ รับบทนายทหารวัยชรา) รวมถึง วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล รับบทเป็นสหายของนายทหาร

ที่ผ่านมาหนังมีโอกาสได้ฉายรอบปฐมทัศน์ในสายรอง Orizzonti ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองเวนิส เมื่อเดือนกันยายนปี ค.ศ. 2021

สำหรับในส่วนของเสียวิจารณ์นั้นขอยกตัวอย่างบทวิจารณ์จาก “กัลปพฤกษ์” (นักวิจารณ์ภาพยนตร์ รางวัลกองทุนหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ ประจำปี 2547) ที่เขียนถึงหนังเรื่องนี้ลงใน www.the101

โดยรวมเจ้าตัวระบุว่าหนังเรื่อง “เวลา” มีความโดดเด่นในเรื่องของ “เทคนิค” ทั้ง การถ่ายภาพ การจัดองค์ประกอบศิลป์ แสง สี เสียงประกอบและดนตรี ที่ให้ลีลาเชิงบรรยากาศสำหรับฉากต่างๆ ได้อย่างประณีต ด้วยพื้นเพของการเป็นนักทำหนังทดลองของตัวผู้กำกับมาก่อน

แต่ที่อ่อนด้อยก็คือในส่วนของ “บทภาพยนตร์” และ “การแสดงของนักแสดง” ที่นักวิจารณ์ดีรีรางวัลกองทุนหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ ประจำปี 2547 ระบุแบบตรงไปตรงมาโดยใช้คำว่า “เล่าไม่จบ” “เล่าไม่รู้เรื่อง” “เชยไปจนถึงเชยมากๆ” “พัง” “กรุณาขวนขวายลองหาที่เรียน” ฯลฯ

ก่อนที่เจ้าตัวจะสรุปภาพรวมของหนังเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า…”น่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างผลงานสร้างสรรค์ของผู้กำกับหนังอิสระไทยที่โดดเด่นในบางมุมด้านจนเป็นที่ถูกอกถูกใจ programmer เทศกาลหนังขนาดใหญ่ แต่ก็อ่อนด้อยในบางจุดจนทำให้ตัวหนังไม่สามารถไปได้ไกลตามศักยภาพเริ่มต้นของมันในเวลาเดียวกัน ซึ่งก็ดูจะเป็นปัญหาเรื้อรังของวงการหนังนอกกระแสร่วมสมัยของไทยที่สุดท้ายก็ยังมองไม่เห็นใครจะผงาดขึ้นมาเป็นคู่แข่งผู้กำกับระดับตำนานที่ยังคงทำงานอยู่อย่าง อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล”

.

<< ติดตามหนังดี ซีรีส์ดังก่อนใครได้ที่ www.inwiptv.com | www.uhdmax.net >>